พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539
1. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไม่ใช่บังคับองค์กรหรือหน่วยราชการตามข้อใด
        ก.  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี                         ข.  การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
        ค.  การดำเนินกิจการทางศาสนา                   ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้ มิให้ ใช้บังคับแก่
(๑) รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
(๒) องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ
(๓) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง
(๔) การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์
(๕) การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา
(๖) การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
(๗) การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ
(๘) การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
(๙) การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การดำเนินกิจการใดหรือกับหน่วยงานใดนอกจากที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

2. กฎหมายวิธีปฎิบัติราชการปกครองใช้บังคับในกรณีใด
        ก.  การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง       
        ข.  รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
        ค.  การพิจารณาพิพากษาคดีของศาล                                                                      
        ง.  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ จากข้อ1.
3. ข้อใดเป็นคำสั่งทางปกครอง
        ก.  คำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมายในการสั่งและมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
        ข.  การอนุญาตหรือไม่อนุญาตอันก่อให้เกิดสิทธิหรือระงับซึ่งสิทธิของบุคคล
        ค.  การวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่อันมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล
        ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.คำสั่งทางปกครองหมายความว่า
(๑) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ

4. คำสั่งทางปกครอง หมายความว่า การใช้อำนาจตามกฏหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับหรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ฯ ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
ก การสั่งการ              ข การอนุญาต            ค การวินิจฉัยอุทธรณ์                ง การออกกฎ

ตอบ.จากข้อ2.
5. กรณีใดเป็น "คำสั่งทางการปกครอง"
        ก.  ประกาศของราชการกำหนดว่าการยื่นขอต่อใบอนุญาต โรงงานต้องส่งรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย
        ข.  คำสั่งของผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สั่งซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง
        ค.  ไฟจราจร (เขียว แดง) ที่สี่แยกแห่งหนึ่ง
        ง.  รายงานผลการสอบวินัยข้าราชการผู้หนึ่งที่คณะกรรมการการสอบสวนวินัยเสนอต่ออธิบดี

ตอบ จากข้อ2.
6. คำว่า "กฎ" ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง หมายถึงข้อใด
        ก.  พระราชกฤษฎีกา                                                        ข.  กฎกระทรวง
        ค.  ประกาศกระทรวง และข้อบังคับท้องถิ่น                        ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.(๒) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎหมายความว่า พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ระเบียบ ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ
ไม่รวมพระราชบัญญัติ

7. ข้อใดต่อไปนี้หมายความว่า กฎตามพระราชบัญญัติ วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
ก พระราชกฤษฎีกา                ข กฎกระทรวง                 ค ประกาศกระทรวง               ง ทุกข้อ

ตอบ. ตามข้อ 6.
8. บุคคลตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                            ข.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม                                  ง.  อธิบดีกรมการปกครอง

ตอบ.มาตรา ๖ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

9. บุคคลตามข้อใดเป็นประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
        ก.  นายกรัฐมนตรี                                                      ข.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
        ค.  ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                                      ง.  บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ตอบ.มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาและผู้ทรงคุณวุฒิอีกไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคนเป็นกรรมการ
ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารราชการแผ่นดิน แต่ผู้นั้นต้องไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ให้เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ

10. ผู้ดำรงตำแหน่งประธานในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ต้องเป็นบุคคลตามข้อใด
        ก.  เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง                          
        ข.  ต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
        ค.  ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางนิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์    บริหารราชการแผ่นดิน
        ง.  ต้องอายุไม่เกิน 50 ปีบริบูรณ์

ตอบ. มาตรา 7 จากข้อ 9.
11. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดจำนวนไว้ตามข้อใด
        ก.  ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน                          ข.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
        ค.  ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน                          ง.  ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 9 คน

ตอบ. จากข้อ 9.
12. บุคคลข้อใดที่ทำตามหน้าที่เลขานุการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
        ก.  เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา                         ข.  เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
        ค.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่งตั้ง
        ง.  ข้าราชการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ตอบ.จากข้อ 9.
13. หน่วยงานที่ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง คือหน่วยงานในข้อใด
        ก.  สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                                ข.  สำนักงานคณะกรรมการรัฐมนตรี
        ค.  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน                  ง.  กรมการปกครอง

ตอบ.จากข้อ 9.
14. กรรมการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่ง คราวละกี่ปี
        ก.  2 ปี                    ข.  3 ปี                      ค.  4 ปี                        ง.  5 ปี

ตอบ.มาตรา ๘ ให้กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ ให้กรรมการนั้นปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่

15. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
        ก.  สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
        ข.  เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
        ค.  พิจารณาคดีทางการปกครอง
        ง.  จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอนายกรัฐมนตรี

ตอบ.มาตรา ๑๑ คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนด
(๓) มีหนังสือเรียกให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลอื่นใดมาชี้แจงหรือแสดงความเห็นประกอบการพิจารณาได้
(๔) เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
(๕) จัดทำรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติราชการทางปกครองให้เป็นไปโดยมีความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
(๖) เรื่องอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

16. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดทำการพิจารณาทางปกครองได้
        ก.  เป็นคู่กรณีในคดี                                                ข.  เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
        ค.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี                              ง.  เป็นผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีในคดี

ตอบ.มาตรา ๑๓ เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(๑) เป็นคู่กรณีเอง
(๒) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(๓) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น
(๔) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(๕) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี            (๖) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

17. เจ้าหน้าที่ในข้อใดที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
ก เป็นคู่หมั้นของคู่กรณี            ข เป็นญาติของคู่กรณี          
ค เป็นนายจ้างของคู่กรณี         ง ทุกข้อที่กล่าวมาจะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้

ตอบ.ตามข้อ 16.
18. กรณีใดที่เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางการปกครองได้
        ก.  เป็นคู่กรณีเอง                                                     ข.  เป็นเพื่อนของคู่สมรส
        ค.  เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี                     ง.  เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ของคู่กรณี

ตอบ จากข้อ 16.
19. บุคคลตามข้อใดเป็นคู่กรณีในการพิจารณาปกครองได้
        ก.  บุคคลธรรมดา                  ข.  คณะบุคคล                ค.  นิติบุคคล                    ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๒๑ บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล อาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้ตามขอบเขตที่สิทธิของตนถูกกระทบกระเทือนหรืออาจถูกกระทบกระเทือนโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

20. บุคคลตามข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณี ในกรณีที่มีคู่กรณีเกิน 50 คนยื่นคำขออย่างเดียวกันได้
        ก.  บุคคลธรรมดา                    ข.  คณะบุคคล                     ค.  นิติบุคคล                  ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๒๕ ในกรณีที่มีการยื่นคำขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกินห้าสิบคนหรือมีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอที่มีข้อความอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ถ้าในคำขอมีการระบุให้บุคคลใดเป็นตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือมีข้อความเป็นปริยายให้เข้าใจได้เช่นนั้น ให้ถือว่าผู้ที่ถูกระบุชื่อดังกล่าวเป็นตัวแทนร่วมของคู่กรณีเหล่านั้น
ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใดเป็นตัวแทนร่วมของตนตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว ในกรณีนี้ให้นำมาตรา ๒๔ วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตัวแทนร่วมตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองต้องเป็นบุคคลธรรมดา
คู่กรณีจะบอกเลิกการให้ตัวแทนร่วมดำเนินการแทนตนเมื่อใดก็ได้แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบและดำเนินการใด ๆ ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองต่อไปด้วยตนเอง
ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบกับต้องแจ้งให้คู่กรณีทุกรายทราบด้วย

21. ในกรณีที่มีคู่กรณีเกินห้าสิบคนยื่นคำขอให้มีคำสั่งทางปกครองในเรื่องเดียวกัน โดยไม่มีการกำหนดให้บุคคลใด เป็นตัวแทนร่วมของตน ให้เจ้าหน้าที่ในเรื่องนั้นแต่งตั้งบุคคล ดังข้อใดเป็นตัวแทนร่วมของบุคคลดังกล่าว
ก แต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีคัดเลือกเป็นตัวแทนร่วม                      ข แต่งตั้งบุคคลที่คู่กรณีแต่งตั้งขึ้นเป็นตัวแทนร่วม
ค แต่งตั้งคู่กรณีฝ่ายข้างมากเห็นชอบเป็นตัวแทนร่วม               ง แต่งตั้งคู่กรณีที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเป็นตัวแทนร่วม

ตอบ.ตามข้อ 20.
22. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ เอกสารที่จะใช้พิจารณาการปกครอง
        ก.  ต้องเป็นภาษาไทยเท่านั้น
        ข.  ถ้าเป็นเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยและมีการรับรองที่ถูกต้อง
        ค.  เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้
        ง.  ต้องเป็นภาษาไทยและต่างประเทศ

ตอบ มาตรา ๒๖ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ให้จัดทำเป็นภาษาไทย ถ้าเป็นเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้คู่กรณีจัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยที่มีการรับรองความถูกต้องมาให้ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีนี้ให้ถือว่าเอกสารดังกล่าวได้ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำแปลนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ และในกรณีนี้ให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นเอกสารฉบับที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารดังกล่าว
การรับรองความถูกต้องของคำแปลเป็นภาษาไทยหรือการยอมรับเอกสารที่ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

23. กรณีที่คำขอหรือคำแถลงของคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครอง มีข้อบกพร่องอันเกิดจากความไม่รู้ของคู่กรณี เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อใด
        ก.  ให้จำหน่ายเรื่องออกการพิจารณา                     ข.  ให้เจ้าหน้าที่แนะนำให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง
        ค.  ให้เจ้าหน้าที่แก้ไขให้ถูกต้อง                              ง.  ให้พิจารณาไปตามข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่มีอยู่

ตอบ.ข.มาตรา ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็นแก่กรณี
           ถ้าคำขอหรือคำแถลงมีข้อบกพร่องหรือมีข้อความที่อ่านไม่เข้าใจหรือผิดหลงอันเห็นได้ชัดว่าเกิดจากความไม่รู้หรือความเลินเล่อของคู่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แนะนำให้คู่กรณีแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้อง

24. ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ตามข้อใด
        ก.  สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความเหมาะสม         ข.  ไม่ผูกพันอยู่กับคำขอของคู่กรณี
        ค.  ไม่ต้องผูกพันกับพยานหลักฐานของคู่กรณี                   ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๒๘ ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสมในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำขอหรือพยานหลักฐานของคู่กรณี

25. ในการจัดพิจารณาพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการตามข้อใด
        ก.  แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง                ข.  ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
        ค.  ออกไปตรวจสถานที่                                                        ง.  ถูกทุกข้อ
ตอบ.มาตรา ๒๙ เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง ในการนี้ ให้รวมถึงการดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) แสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง
(๒) รับฟังพยานหลักฐาน คำชี้แจง หรือความเห็นของคู่กรณีหรือของพยานบุคคลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่คู่กรณีกล่าวอ้าง เว้นแต่เจ้าหน้าที่เห็นว่าเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่จำเป็นฟุ่มเฟือยหรือเพื่อประวิงเวลา
(๓) ขอข้อเท็จจริงหรือความเห็นจากคู่กรณี พยานบุคคล หรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
(๔) ขอให้ผู้ครอบครองเอกสารส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(๕) ออกไปตรวจสถานที่
คู่กรณีต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง และมีหน้าที่แจ้งพยานหลักฐานที่ตนทราบแก่เจ้าหน้าที่
พยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญที่เจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นมีสิทธิได้รับค่าป่วยการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

26. การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามข้อใดไม่ถูกต้องในกรณีที่คำสั่งทางการปกครองจะกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี
        ก.  เจ้าหน้าที่ให้คู่กรณีมีโอกาสได้ทราบข้อเท็จจริง และมีโอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน
        ข.  เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากเป็นมาตรการบังคับทางการปกครอง
        ค.  เจ้าหน้าที่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้งพยานหลักฐานถึงแม้ว่าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายต่อประโยชน์ สาธารณะ
        ง.  เจ้าหน้าที่ไม่ให้โอกาสคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงเนื่องจากจะทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป

ตอบ.มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
(๑) เมื่อมีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือจะกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ
(๒) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
(๓) เมื่อเป็นข้อเท็จจริงที่คู่กรณีนั้นเองได้ให้ไว้ในคำขอ คำให้การหรือคำแถลง
(๔) เมื่อโดยสภาพเห็นได้ชัดในตัวว่าการให้โอกาสดังกล่าวไม่อาจกระทำได้
(๕) เมื่อเป็นมาตรการบังคับทางปกครอง
(๖) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ให้โอกาสตามวรรคหนึ่ง ถ้าจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประโยชน์สาธารณะ

27. คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งสิทธิหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ การขอ   ดังกล่าวไม่รวมถึงการขอในข้อใด
        ก.  ขอตรวจดูเอกสารต้นร่างคำวินิจฉัย ในขณะที่ยังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครอง       
        ข.  ขอสำเนาเอกสารที่เป็นพยานหลักฐานทั้งหมด
        ค.  ขอดูหลักฐานที่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้
        ง.  มีสิทธิขอดูได้ทุกกรณี

ตอบ.มาตรา ๓๑ คู่กรณีมีสิทธิขอตรวจดูเอกสารที่จำเป็นต้องรู้เพื่อการโต้แย้งหรือชี้แจงหรือป้องกันสิทธิของตนได้ แต่ถ้ายังไม่ได้ทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น คู่กรณีไม่มีสิทธิขอตรวจดูเอกสารอันเป็นต้นร่างคำวินิจฉัย
การตรวจดูเอกสาร ค่าใช้จ่ายในการตรวจดูเอกสาร หรือการจัดทำสำเนาเอกสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๓๒ เจ้าหน้าที่อาจไม่อนุญาตให้ตรวจดูเอกสารหรือพยานหลักฐานได้ ถ้าเป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับ

27. รูปแบบคำสั่งทางการปกครองในข้อใดไม่ถูกต้อง
        ก.  ทำเป็นหนังสือ                                                     ข.  เป็นคำสั่งด้วยวาจาก็ได้
        ค.  สั่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์                          ง.  คำสั่งทางปกครองอาจใช้รูปแบบได้ทั้งข้อ ก , ข และข้อ ค

ตอบ.ง.มาตรา ๓๔ คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือ หรือ วาจา หรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้ แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้

28. ข้อใดเป็นรูปแบบของคำสั่งการปกครอง
        ก.  สื่อความต่าง ๆ ที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้                     ข.  วาจา
        ค.  หนังสือ                                                                                        ง.  เป็นทุกข้อ

ตอบ จากข้อ 27.
29. ในกรณีคำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับสั่งร้องขอภายในกี่วันนับแต่วันมีคำสั่งเจ้าหน้าที่ต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ
        ก.  3 วัน           ข.  5 วัน           ค.  7 วัน          ง.  15 วัน

ตอบ.มาตรา ๓๕ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจา ถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอและการร้องขอได้กระทำโดยมีเหตุอันสมควรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว เจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ

30. เหตุผลที่ต้องจัดให้มีไว้ในคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ คือข้อใด
        ก.  ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ                                                    ข.  กฎหมายที่ใช้อ้างอิง
        ค.  ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ                  ง.  ต้องมีเหตุผลทั้งในข้อ ก ข และ ค

ตอบ.มาตรา ๓๗ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ        (๒) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง           (๓) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครองกรณีหนึ่งกรณีใดต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่งนั้นก็ได้
บทบัญญัติตามวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เป็นกรณีที่มีผลตรงตามคำขอและไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคลอื่น
(๒) เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีก
(๓) เป็นกรณีที่ต้องรักษาไว้เป็นความลับตามมาตรา ๓๒
(๔) เป็นการออกคำสั่งทางปกครองด้วยวาจาหรือเป็นกรณีเร่งด่วนแต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควรหากผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งนั้นร้องขอ

31. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง
        ก.  ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองต่อเจ้าหน้าที่ทำคำสั่งภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
        ข.  การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองสามารถอุทธรณ์ด้วยวาจาได้
        ค.  การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง
        ง.  เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์ภายในไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับการอุทธรณ์

ตอบ.มาตรา ๔๔ ภายใต้บังคับมาตรา ๔๘ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองไว้เป็นการเฉพาะ ให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองนั้นโดยยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ตนได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือโดยระบุข้อโต้แย้งและข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงประกอบด้วย
การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับตามมาตรา ๕๖ วรรคหนึ่ง
มาตรา ๔๕ ให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์โดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ในกรณีที่เห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงคำสั่งทางปกครองตามความเห็นของตนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย

32. การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง กรณีคำสั่งใดไม่ออกโดยรัฐมนตรีและไม่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนการอุทธรณ์ ฯให้คู่กรณีอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง ยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้นภายในกี่วัน
15              ข 30            ค 60              ง 90

ตอบ.จากข้อ 31.
33. กรณีทั่วไป คู่กรณีอาจอุทธรณ์คำสั่งทางการปกครองได้ภายใน
        ก.  7 วัน            ข.  15 วัน            ค.  30 วัน               ง.  1 ปี

ตอบ จากข้อ 31.
34. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคำสั่งให้นายแดงกรรมการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งหนึ่ง พ้นจากตำแหน่ง นายแดงต้องการอุทธรณ์ จะยื่นอุทธรณ์ต่อใคร  Act.
        ก.  ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ออกคำสั่งนั้น                      ข.  ปลัดกระทรวงมหาดไทย
        ค.  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย                    ง.  ศาลปกครอง

ตอบ จากข้อ 31.
35. ในการพิจารณาอุทธรณ์ เจ้าหน้าที่มีอำนาจพิจารณาในประเด็นตามข้อใด
        ก.  พิจารณาในประเด็นปัญหาข้อเท็จจริง                                       ข.   พิจารณาประเด็นปัญหาข้อกฎหมาย
        ค.  พิจารณาความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางการปกครอง         ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.ง.มาตรา ๔๖ ในการพิจารณาอุทธรณ์ ให้เจ้าหน้าที่พิจารณาทบทวนคำสั่งทางปกครองได้ไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย หรือความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครอง และอาจมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเดิมหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งนั้นไปในทางใด ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระหรือลดภาระหรือใช้ดุลพินิจแทนในเรื่องความเหมาะสมของการทำคำสั่งทางปกครองหรือมีข้อกำหนดเป็นเงื่อนไขอย่างไรก็ได้

36. การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุ
        ที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางการปกครองนั้น
        ก.  30 วัน                      ข.    60 วัน                           ค.  90 วัน                              ง.  120 วัน

ตอบ.มาตรา ๔๙ เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์หรือให้โต้แย้งตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น เว้นแต่คำสั่งทางปกครองจะได้ทำขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่หรือการชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย

37. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วัน
15           ข 30              ค 60                ง 90

ตอบ.จากข้อ 36.
38. เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์
        ก.  มีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นข้อยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
        ข.  คู่กรณีที่แท้จริงไม่ได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการ
        ค.  เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางการปกครอง
        ง.  ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๕๔ เมื่อคู่กรณีมีคำขอ เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ตามส่วนที่ ๕ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
(๒) คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองหรือได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
(๓) เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจที่จะทำคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้น
(๔) ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
การยื่นคำขอตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อคู่กรณีไม่อาจทราบถึงเหตุนั้นในการพิจารณาครั้งที่แล้วมาก่อนโดยไม่ใช่ความผิดของผู้นั้น
การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ผู้นั้นได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่ได้

39. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดใช้ชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ชำระภายในเวลาที่กำหนด โดยจะต้องให้มีเวลาไม่น้อยกว่ากี่วัน
ก.  7 วัน                ข.  15 วัน               ค.  30 วัน                 ง.  45 วัน

ตอบ.มาตรา ๕๗ คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามคำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นและขายทอดตลาดเพื่อชำระเงินให้ครบถ้วน
วิธีการยึด การอายัดและการขายทอดตลาดทรัพย์สินให้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลม ส่วนผู้มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดหรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

40. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ผู้ใดชำระเงิน ถ้าถึงกำหนดแล้วไม่มีการชำระโดยถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน.. ซึ่งถ้าไม่มีการปฏิบัติตาม คำเตือน เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สิน...ฯ
90             ข 30               ค 15                 ง 7

ตอบ.จากข้อ 39.
41. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ละเว้นการกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งฝ่าฝืน เจ้าหน้าที่อาจบังคับให้ไป ชำระค่าปรับทางปกครองได้ โดยจำนวนเงินที่กำหนดต้องไม่เกินอัตราตามข้อใด
ก.  500 บาทต่อวัน         ข.  1,000 บาทต่อวัน        ค.  2,000 บาทต่อวัน       ง.  20,000 บาทต่อวัน

ตอบ.มาตรา ๕๘ คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทนโดยผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละยี่สิบห้าต่อปีของค่าใช้จ่ายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่
(๒) ให้มีการชำระค่าปรับทางปกครองตามจำนวนที่สมควรแก่เหตุแต่ต้องไม่เกินสองหมื่นบาทต่อวัน
เจ้าหน้าที่ระดับใดมีอำนาจกำหนดค่าปรับทางปกครองจำนวนเท่าใดสำหรับในกรณีใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่มีความจำเป็นที่จะต้องบังคับการโดยเร่งด่วนเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหรือมิให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ เจ้าหน้าที่อาจใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยไม่ต้องออกคำสั่งทางปกครองให้กระทำหรือละเว้นกระทำก่อนก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องกระทำโดยสมควรแก่เหตุและภายในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตน

42. ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครอง เจ้าหน้าที่จะต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือให้มีการกระทำหรือละเว้นการ กระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนด คำเตือนดังกล่าวจะต้องระบุตามข้อใด
ก. มาตรการบังคับทางการปกครองที่จะใช้                ข. ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเอง
ค. จำนวนค่าปรับทางปกครอง                                   ง. ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๕๙ ก่อนใช้มาตรการบังคับทางปกครองตามมาตรา ๕๘ เจ้าหน้าที่จะต้องมีคำเตือนเป็นหนังสือให้มีการกระทำหรือละเว้นกระทำตามคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กำหนดตามสมควรแก่กรณี คำเตือนดังกล่าวจะกำหนดไปพร้อมกับคำสั่งทางปกครองก็ได้
คำเตือนนั้นจะต้องระบุ
(๑) มาตรการบังคับทางปกครองที่จะใช้ให้ชัดแจ้ง แต่จะกำหนดมากกว่าหนึ่งมาตรการในคราวเดียวกันไม่ได้
(๒) ค่าใช้จ่ายในการที่เจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการแทน หรือจำนวนค่าปรับทางปกครองแล้วแต่กรณี
การกำหนดค่าใช้จ่ายในคำเตือน ไม่เป็นการตัดสิทธิที่จะเรียกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หากจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าที่ได้กำหนดไว้

43. การแจ้งคำสั่งทางปกครองโดยวิธีส่งทางไปรณีย์ตอบรับ ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเวลาตามข้อใด
ก.  5 วันนับแต่ส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 7 วันนับแต่วันที่ส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
ข.  7 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 15 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
ค.  15 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 30 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ
ง.  20 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศ หรือ 45 วันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ

ตอบ.มาตรา ๗๑ การแจ้งโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อครบกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีภายในประเทศหรือเมื่อครบกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันส่งสำหรับกรณีส่งไปยังต่างประเทศ เว้นแต่จะมีการพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการได้รับหรือได้รับก่อนหรือหลังจากวันนั้น

44. คำสั่งทางปกครองอาจทำเป็นหนังสือหรือวาจาหรือโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่นก็ได้แต่ต้องมีข้อความหรือความหมายที่ชัดเจนเพียงพอที่จะเข้าใจได้ ข้อใดถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับคำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ
ก ต้องระบุวัน เดือนและ ปีที่ทำคำสั่ง                     ข ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง
ค ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง                       ง ถูกทุกข้อ

ตอบ.มาตรา ๓๖ คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องระบุ วัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง พร้อมทั้งมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งนั้น

45. คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่เมื่อใด
ก ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป                              ข วันที่ออกคำสั่งทางปกครอง
ค วันที่ระบุในคำสั่งทางปกครอง                      ง วันที่ผู้นั้นเซนต์รับคำสั่งทางปกครอง

ตอบ.มาตรา ๔๒ คำสั่งทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อบุคคลตั้งแต่ขณะที่ผู้นั้นได้รับแจ้งเป็นต้นไป

46. ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหาย เนื่องจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ ต้องร้องขอค่าทดแทนดังกล่าวได้ภายในกี่วัน นับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
1 ปี              ข 180                 ค 120                ง 90

ตอบ.มาตรา ๕๒ คำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อยู่ในบังคับของมาตรา ๕๑ อาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วนได้ แต่ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองดังกล่าวมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากความเชื่อโดยสุจริตในความคงอยู่ของคำสั่งทางปกครองได้ และให้นำความในมาตรา ๕๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ต้องร้องขอค่าทดแทนภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการเพิกถอนนั้น
ค่าทดแทนความเสียหายตามมาตรานี้จะต้องไม่สูงกว่าประโยชน์ที่ผู้นั้นอาจได้รับหากคำสั่งทางปกครองดังกล่าวไม่ถูกเพิกถอน

47. กรณีใดที่คำสั่งทางการปกครอง ไม่สมบูรณ์
       ก.  ออกคำสั่งโดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอ                      ข.  คำสั่งที่ต้องการได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าอื่นก่อน
      ค.  พิจารณาโดยไม่รับฟังคู่กรณี                            ง.  ทุกข้อ

ตอบ มาตรา ๔๑ คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์
(๑) การออกคำสั่งทางปกครองโดยยังไม่มีผู้ยื่นคำขอในกรณีที่เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเองไม่ได้นอกจากจะมีผู้ยื่นคำขอ ถ้าต่อมาในภายหลังได้มีการยื่นคำขอเช่นนั้นแล้ว
(๒) คำสั่งทางปกครองที่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่ง ถ้าได้มีการจัดให้มีเหตุผลดังกล่าวในภายหลัง
(๓) การรับฟังคู่กรณีที่จำเป็นต้องกระทำได้ดำเนินการมาโดยไม่สมบูรณ์ ถ้าได้มีการรับฟังให้สมบูรณ์ในภายหลัง
(๔) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง
เมื่อมีการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) แล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีคำสั่งทางปกครองประสงค์ให้ผลเป็นไปตามคำสั่งเดิมให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นบันทึกข้อเท็จจริงและความประสงค์ของตนไว้ในหรือแนบไว้กับคำสั่งเดิมและต้องมีหนังสือแจ้งความประสงค์ของตนให้คู่กรณีทราบด้วย
กรณีตาม (๒) (๓) และ (๔) จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตามส่วนที่ ๕ ของหมวดนี้ หรือตามกฎหมายเฉพาะว่าด้วยการนั้น หรือถ้าเป็นกรณีที่ไม่ต้องมีการอุทธรณ์ดังกล่าวก็ต้องก่อนมีการนำคำสั่งทางปกครองไปสู่การพิจารณาของผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูกต้องของคำสั่งทางปกครองนั้น

48. คำสั่งทางการปกครองที่อาจอุทธรณ์โต้งแย้งได้ ถ้าไม่มีการระบุระยะเวลาในการอุทธรณ์ไว้ ระยะเวลาในการ     อุทธรณ์เริ่มนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งทางการปกครอง ภายใน
      ก.  7 วัน         ข.  15 วัน               ค.  30 วัน             ง.  1 ปี

ตอบ มาตรา ๔๐ คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ให้ระบุกรณีที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้ง การยื่นคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง และระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งดังกล่าวไว้ด้วย
ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนบทบัญญัติตามวรรคหนึ่ง ให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีการแจ้งใหม่และระยะเวลาดังกล่าวมีระยะเวลาสั้นกว่าหนึ่งปี ให้ขยายเป็นหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง
49. คำสั่งทางการปกครองที่อาจอุทธรณ์ต่อไปได้ แต่เจ้าหน้าที่ที่มิได้แจ้งสิทธิ์การอุทธรณ์ และระยะเวลาอุทธรณ์ไว้   ในคำสั่งดังกล่าว จะมีผลอย่างไร  Act.
        ก.  คำสั่งนั้นเป็นโมฆะ                                                     ข.  คำสั่งนั้นไม่สมบูรณ์
        ค.  ต้องดำเนินการออกคำสั่งใหม่ให้ถูกต้อง                     ง.  ระยะเวลาอุทธรณ์เริ่มนับใหม่ นับแต่ได้แจ้งสิทธิดังกล่าว

ตอบ จากข้อ 48.
50. เจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามคำขอของเอกชนรายหนึ่ง ต่อมาเจ้าหน้านั้นเห็นว่า คำสั่งที่ไม่อนุญาตของตนไม่ถูกต้อง เพราะความเข้าใจผิดของตนเอง เจ้าหน้าผู้นั้นจะแก้ไขคำสั่งของตนได้    หรือไม่
        ก.  ไม่ได้ ต้องให้ผู้บังบัญชาสั่งจึงจะแก้ไขได้                                                    ข.  ไม่ได้ ถ้าเขาไม่อุทธรณ์
        ค.  ไม่ได้ แม้เขาจะอุทธรณ์ก็ต้องให้ผู้มีอำนาจพิจารณาสั่งอุทธรณ์แก้ไข          ง.  ได้เสมอ ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง

ตอบ มาตรา ๔๓ คำสั่งทางปกครองที่มีข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อยนั้น เจ้าหน้าที่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้เสมอ
ในการแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองตามวรรคหนึ่งให้แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบตามควรแก่กรณี ในการนี้เจ้าหน้าที่อาจเรียกให้ผู้ที่เกี่ยวข้องจัดส่งคำสั่งทางปกครอง เอกสารหรือวัตถุอื่นใดที่ได้จัดทำขึ้นเนื่องในการมีคำสั่งทางปกครองดังกล่าวมาเพื่อการแก้ไขเพิ่มเติมได้



4 ความคิดเห็น:

  1. เป็นข้อสอบที่ดีมากเพราะมีอธิบายตามพรบ.ให้เห้นภาพชัดเจน แต่น่าจะมีเฉลยให้เห้นกว่านี้เผื่อคนที่ยัง งง งง ครับขอบพระคุณครับ

    ตอบลบ
  2. น่าจะมีข้อเฉลยค่ะ

    ตอบลบ
  3. ดีคับเข้าใจดีเข้าทางผมเรย...

    ตอบลบ